วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

เครื่องดนตรีสากล

เปียโน




เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปลายคริสตศตวรรษที่18 เสียงของเปียโนเกิดจากการสั่นสะเทือนของสายที่ถูกฆ้อนเล็กๆตีสายซึ่งขึงอยู่ข้างในเมื่อผู้เล่นกดคีย์และเมือผู้เล่นยกนิ้วขึ้นสักหลาดชิ้นเล็กๆจะกลับทาบลงบนสายทำให้หยุดความสั่นสะเทือนเสียงก็จะหยุด เปียโนสามารถทำให้เสียงยาวได้โดยเหยียบ Pedalเปียโนมีช่วงเสียงกว้างมากสามารถเล่นให้มีเสียงดัง-เบาได้ ตามความแรงของนิ้วที่กดลงบนคีย์ ชื่อเรียกเต็มคือ เปียโนฟอร์เต้ (Piano-forte)เป็นภาษาอิตาเลี่ยน หมายความว่าเล่นได้ทั้งเบาและดัง (piano แปลว่าเบา forte แปลว่าดัง)เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า เปียโนฟอร์เต (pianoforte) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์พซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระ


แอกคอร์เดียน [ Accordian]


เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของแอกคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่นผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออกแอกคอร์เดียนมีหลายขนาดเช่นขนาด 25 ลิ่มนิ้ว 12 เบส ขนาด 37 ลิ่มนิ้ว 80 เบส และขนาดใหญ่ซึ่งนิยมใช้เล่นโดยทั่วไปจะมี 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส และยังมีปุ่มปรับเสียงเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ทางด้านขวาอีกหลายปุ่ม ทางด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดัง – ค่อยซึ่งเปิด – ปิด ได้อีก 3-4 ช่อง ปุ่มปรับระดับเสียงจะเป็นปุ่มเสียงต่ำ แอกคอร์เดียนนิยมใช้กับวงดนตรีขนาดเล็กเช่น วงดนตรีประจำหมู่บ้าน วงดนตรีลูกทุ่งวงคอมโบ วงโฟล์คซอง เป็นต้น



วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551

จะเข้


จะเข้

จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องดีด บรรเลงโดยการวางดีดตามแนวนอน สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยของราชบัณฑิตยสถานได้กล่าวถึงจะเข้ไว้ว่า “เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากมอญ ทำเป็นรูปร่างเหมือนจระเข้ทั้งตัว มีสายขึงดีดอยู่ด้านบน”
ตัวของจะเข้นั้นทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แกนขนุนเพราะให้เสียงกังวานดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ โดยมากใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้เพื่อให้เสียงออกดีขึ้น มีเท้าติดอยู่กับพื้นไม้ด้านล่างตัวทั้งหมด ๕ เท้า อยู่ทางด้านที่เป็นกระพุ้งหรือด้านขวามือของผู้บรรเลง ๔ เท้า และด้านรางไหมหรือด้านซ้ายมือของผู้บรรเลงอีก ๑ เท้า

จะเข้นั้น มีสาย ๓ สาย คือ สายที่อยู่ชิดทางด้านนอกตัวเรียกว่าสายเอก นิยมทำด้วยเอ็นหรือไหม สายถัดมาอยู่ตรงกลาง เรียกว่าสายทุ้ม ซึ่งก็ทำด้วยสายเอ็นหรือไหมเช่นเดียวกัน ส่วนสายในสุดด้านติดผู้บรรเลง ทำด้วยลวดทองเหลือง เรียกว่าสายลวด สายทั้ง ๓ สายนั้นขึงจากหลักที่อยู่บนด้านที่เป็นกระพุ้งของตัวจะเข้ พาดผ่านทับบนโต๊ะ (ทำด้วยกล่องทองเหลืองลักษณะกลวง) แล้วขึงไปพาดกับหย่องและสอดผ่านรางไหมลงไปพันกับก้านลูกบิดที่อยู่ทางด้านท้ายของตัวจะเข้ สายแต่ละสายจะพันอยู่กับลูกบิดสายละอัน

ศิลปินที่เชี่ยวชาญและชื่อเสียงในด้านการบรรเลงจะเข้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีมากมายหลายท่าน อย่างที่บอกเล่ากันปากต่อปาก เช่นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งผู้ที่ถือว่ามีชื่อเสียงในการบรรเลงจะเข้ ก็เช่น พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าบัวชุม เจ้าบุญปั่น ฯลฯ แต่หลักฐานสำคัญที่เกี่ยวกับจะเข้ อย่างเป็นทางการ คือ หลักฐานที่ปรากฎในทะเบียนข้าราชการของกรมมหรสพในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งปรากฏนามศิลปินในราชสำนักที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านหนึ่งนามว่า "หลวงว่องจะเข้รับ (โต กมลวาทิน)" ซึ่งเมื่อศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ย้อนไปทำให้ทราบว่า ท่านได้ศึกษาวิชาการดีดจะเข้มาจากโบราณจารย์และเป็นศิษย์คนหนึ่งของพระยาประสานดุริศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง มีฝีมือดีจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์หลวงว่องจะเข้รับ ต่อมาท่านได้ถ่ายทอดวิชาการดีดจะเข้ให้กับครูชุ่ม กมลวาทินผู้เป็นน้องชาย และครูจ่าง แสงดาวเด่น ลูกศิษย์คนสำคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักดีดจะเข้ฝีมือดีมากที่สุดคนหนึ่งของวงเครื่องสายราชสำนักของรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ นอกจากนี้ ยังมีนักดีดจะข้ฝีมือดีอีกหลายท่าน อาทิ ครูแสวง อภัยวงศ์ ที่ได้รับการยกย่องและยอมรับอีกเช่นกัน ต่อมาท่านทั้งหลายนี้ได้ถ่ายทอดวิชาการดีดจะเข้ให้ครูระตี วิเศษสุรกานต์ จนมีความสามารถและได้รับยกย่องว่าเป็นนักดีดจะเข้หญิงฝีมือเอกของประเทศ นอกจากนี้ ในยุคเดียวกับครูระตีนั้น ก็ยังมีมือจะเข้ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น ครูทองดี สุจริตกุล, ครูนิภา อภัยวงศ์, ครูแอบ ยุวณวณิช ,นางมหาเทพกษัตริย์สมุห (บรรเลง สาคริก) ฯลฯ (มีอีกมากมายหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้)

และในยุคหลังต่อมา ครูจะเข้ที่มีชื่อเสียงก็เช่น ครูสุธารณ์ บัวทั่ง, ครูสหรัฐ จันทร์เฉลิม, ครูศิวศิษย์ (บัญชา) นิลสุวรรณ, ครูปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, ครูอาทร ธนวัฒน์, ครูศักรินทร์ สู่บุญ, ครูขำคม พรประสิทธิ์ ครูจารุวรรณ ปฐมปัทมะ ฯลฯ (มีอีกมากมายหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้) ซึ่งอาจารย์แต่ละท่านล้วนแล้วแต่ได้รับการถ่ายทอดวิชาการบรรเลงจะเข้มาจากครูยุคก่อนทั้งสิ้น และครูแต่ละท่านที่กล่าวมานี้ ต่างก็ได้ถ่ายทอดวิชาการบรรเลงจะเข้ให้กับเด็กในยุคปัจจุบันให้มีความสามารถและชื่อเสียงอีกมากมาย

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

ฆ้องวง

ฆ้องวง
ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราว วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ 24 ซม ระหว่างหวายเส้นนอกกับหวายเส้นในห่างกันประมาณ 14 17 ซม ดัดให้โค้งเป็นวงรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องด้านหลังคนตีเป็นทางเข้า ระยะห่างประมาณ 20 30 ซม วงฆ้องต้องดัดให้พอดีสำหรับคนเข้าไปนั่ง่ตีได้ไม่อึดอัด ลูกฆ้องวงหนึ่งมี 16 ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 ซม อยู่ทางซ้ายมือด้านหลังผู้ตี ลูกยอดวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 ซม อยู่ทางขวามือด้านหลังผู้ตี ไม้ตีทำด้วยแผ่นหนังดิบ ตัดเป็นวงกลมเจาะกลางสอดด้ามไม้สำหรับถือ


ฆ้องวงเล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีขนาดย่อมกว่าฆ้องวงใหญ่ วัดจากขอบวงในด้านซ้ายมือถึงของวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม. เรือนฆ้องสูง 20 ซม. ฆ้องวงเล็กมีทั้งหมด 18 ลูก: ลูกต้น วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 13 ซม., ลูกยอด มีขนาดประมาณ 9.5 ซม. ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ โดยในวงปี่พาทย์วงหนึ่งนั้น จะใช้ฆ้อง 2 วง คือ ฆ้องวงใหญ่ และ ฆ้องวงเล็ก