ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มไม้ เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 3 มีระดับเสียงทุ้มต่ำ ทั้งนี้เพื่อคู่กับระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ส่วนที่เป็นรางนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างจากระนาดเอก กล่าวคือ ขอบของรางระนาดเอกจะขนานกัน ทั้งด้านล่างและด้านบน สำหรับระนาดทุ้มนั้นด้านล่างจะตรง ส่วนด้านบนจะเว้า และประการสำคัญระนาดทุ้มมี 4 เท้า ส่วนระนาดเอกมีเท้าเดียว
ผืนระนาดทุ้มมักนิยมทำด้วยไม้ไผ่ ในระยะหลังได้มีผู้นำไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับที่ใช้ทำระนาดเอกมาทำผืนระนาดทุ้ม แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ผืนระนาดทุ้มจะประกอบด้วยลูกระนาด 16-17 ลูก โดยลูกที่ 17 ด้านขวามือของผู้บรรเลง เรียกว่า “ลูกหลีก” หรือ “ลูกหลิบ” ผืนระนาดทุ้มนี้มีลักษณะคล้ายกับระนาดเอก แตกต่างตรงที่ขนาดของความเล็ก-ใหญ่ ผืนระนาดเอกจะมีขนาดเล็กสั้น ส่วนระนาดทุ้มจะมีขนาดใหญ่และยาว ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้เกิดความแตกต่างระหว่างระดับความสูงต่ำของเสียงนั่นเอง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยของการคว้านท้องลูกระนาดและการถ่วงตะกั่ว เป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน สำหรับไม้ตีของระนาดทุ้มนั้น คล้ายกับไม้ตีระนาดเอกชนิดไม้นวม แต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าประมาณ 2-3 เท่า นอกจากนั้นยังมีความอ่อนนุ่มกว่าไม่ระนาดเอกชนิดไม้นวมเล็กน้อยหน้าที่ในการบรรเลง ระนาดทุ้มผสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปี่พาทย์มอญ โดยทำหน้าที่บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก ลีลาการบรรเลงระนาดทุ้มนี้ ถ้าหากผู้ฟังไม่ได้ฝึกทักษะในการฟัง จะมีความรู้สึกว่าเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงแล้วไม่รู้เรื่องมากที่สุด แต่หากให้ความสนใจในดนตรีไทยแล้ว โดยพัฒนาทักษะในการฟังแล้ว จะพบว่าระนาดทุ้มเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงแล้ว ทั้งผู้ฟังและผู้บรรเลงสามารถสร้างอารมณ์ร่วมในอรรถรสของทำนองได้มากที่สุด อีกทั้งสามารถสะท้อนถึงภูมิปัญญาของนักดนตรีได้อย่างชัดเจน ในการบรรเลงร่วมวงในเพลงประเภทลูกล้อ-ลูกขัด ระนาดทุ้มจัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทพวกตามทำนอง
ระนาดทุ้มไม้ เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 3 มีระดับเสียงทุ้มต่ำ ทั้งนี้เพื่อคู่กับระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ส่วนที่เป็นรางนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างจากระนาดเอก กล่าวคือ ขอบของรางระนาดเอกจะขนานกัน ทั้งด้านล่างและด้านบน สำหรับระนาดทุ้มนั้นด้านล่างจะตรง ส่วนด้านบนจะเว้า และประการสำคัญระนาดทุ้มมี 4 เท้า ส่วนระนาดเอกมีเท้าเดียว
ผืนระนาดทุ้มมักนิยมทำด้วยไม้ไผ่ ในระยะหลังได้มีผู้นำไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับที่ใช้ทำระนาดเอกมาทำผืนระนาดทุ้ม แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ผืนระนาดทุ้มจะประกอบด้วยลูกระนาด 16-17 ลูก โดยลูกที่ 17 ด้านขวามือของผู้บรรเลง เรียกว่า “ลูกหลีก” หรือ “ลูกหลิบ” ผืนระนาดทุ้มนี้มีลักษณะคล้ายกับระนาดเอก แตกต่างตรงที่ขนาดของความเล็ก-ใหญ่ ผืนระนาดเอกจะมีขนาดเล็กสั้น ส่วนระนาดทุ้มจะมีขนาดใหญ่และยาว ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้เกิดความแตกต่างระหว่างระดับความสูงต่ำของเสียงนั่นเอง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยของการคว้านท้องลูกระนาดและการถ่วงตะกั่ว เป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน สำหรับไม้ตีของระนาดทุ้มนั้น คล้ายกับไม้ตีระนาดเอกชนิดไม้นวม แต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าประมาณ 2-3 เท่า นอกจากนั้นยังมีความอ่อนนุ่มกว่าไม่ระนาดเอกชนิดไม้นวมเล็กน้อยหน้าที่ในการบรรเลง ระนาดทุ้มผสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปี่พาทย์มอญ โดยทำหน้าที่บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก ลีลาการบรรเลงระนาดทุ้มนี้ ถ้าหากผู้ฟังไม่ได้ฝึกทักษะในการฟัง จะมีความรู้สึกว่าเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงแล้วไม่รู้เรื่องมากที่สุด แต่หากให้ความสนใจในดนตรีไทยแล้ว โดยพัฒนาทักษะในการฟังแล้ว จะพบว่าระนาดทุ้มเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงแล้ว ทั้งผู้ฟังและผู้บรรเลงสามารถสร้างอารมณ์ร่วมในอรรถรสของทำนองได้มากที่สุด อีกทั้งสามารถสะท้อนถึงภูมิปัญญาของนักดนตรีได้อย่างชัดเจน ในการบรรเลงร่วมวงในเพลงประเภทลูกล้อ-ลูกขัด ระนาดทุ้มจัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทพวกตามทำนอง